6.21.2552

มะรุม พืชมหัศจรรย์ ของไทย

มะรุม Moringa
พืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง กล่าวเป็นพืชที่รักษาทุกโรคหลายชนิด "มะรุม" เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ในิยมกินฝักมากกว่า พบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก “ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม” ภาคเหนือเรียก “มะค้อมก้อน” ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง”มะรุมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบเป็นแบบขนนกคล้ายกับใบมะขามออกเรียงแบบสลับ ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็นช่อสีขาว ดอกมี 5 กลีบฝักมีความยาว 20-50 เซนติเมตร ลักษณะเหมือนไม้ตีกลอง เป็นที่มาของชื่อต้นไม้ในภาษาอังกฤษ (Drumstick Tree) เปลือกฝักอ่อนสีเขียวมีส่วนคอดเป็นระยะตามความยาวของฝัก เปลือกฝักแก่มีสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มลักษณะกลมมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดแก่สามารถบีบน้ำมันออกมากินได้ มะรุมเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่าย จึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน 1-5 ต้น เพื่อให้เป็นผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียง นำฝักมะรุมไปทำแกงส้ม ด้วยการปอกเปลือกหั่นฝักมะรุมเป็นชิ้นยาวพอคำ ถือว่าเป็นผักที่ทำแกงส้มคู่กับปลาช่อนอร่อยที่สุด จะต่างกันก็ในรายละเอียดของแกงตามแบบอย่างของแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น แม้แต่ทางใต้ก็นิยมนำมะรุมมาทำแกงส้มปลาช่อน โดยจะใช้ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีของน้ำแกง ปรุงรสเปรี้ยวด้วยการใส่ส้มแขกแทนน้ำมะขาม และหั่นปลาช่อนเป็นแว่นใหญ่ไม่โขลกเนื้อปลากับเครื่องแกง
ผู้สูงอายุนิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะ หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กินกับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำมาลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อม
หลายประเทศในโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสานใบมะรุมแห้งปรุงเข้าเครื่อง “ผงนัว” กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหาร ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก
คุณค่าทางอาหาร มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรคคือวิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต 3 เท่า วิตามินซีช่วยป้องกันหวัด 7 เท่าของส้มแคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน 3 เท่าของนมสดโพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท 3 เท่าของกล้วยใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วยน้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่งจากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศรีษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกากประเทศอินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แต่ที่ประเทศที่ฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะกินแกงจืดใบมะรุม (ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก “มาลังเก”) เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับน้ำนมแม่เหมือนกับคนไทย
กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกายฆ่าจุลินทรีย์สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ. 2507 จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหูปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าวการป้องกันมะเร็งใบมะรุม 100 กรัม (คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ. 2537)พลังงาน 26 แคลอรี
โปรตีน 6.7 กรัม (2 เท่าของนม)
ไขมัน 0.1 กรัม
ใยอาหาร 4.8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม
วิตามินเอ 6,780 ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี 220 มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน 110 ไมโครกรัม
แคลเซียม 440 มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.18 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)
การใช้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริงฤทธิ์ป้องกันตับ มะรุม ไม้กลางบ้านของไทยที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานานนอกจากจะรับประทานอร่อยแล้ว ชาวอินเดียยังได้ทำการทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่างๆได้ถึง300ชนิดองค์การสหประชาชาติได้ให้การสนับสนุนในการค้นคว้าและวิจัยอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในการรักษาโรคขาดอาหารและอาการตาบอดซึ่งเกิดขึ้นในเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเจริญเติบโตในประเทศด้อยพัฒนาเช่นกลุ่มประเทศในอัฟริกาตอนใต้และประเทศอินเดีย กลุ่มองค์การกุศลมากมายได้หันมาให้ความสนใจอย่างจริงจังกับพันธุ์ไม้ชนิดนี้ รวมทั้งประเทศไทยกลุ่มนักศึกษาแพทย์จำนวน 25 ท่านจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ได้ทำการทดลองวิจัยในการที่จะนำมารักษาผู้ป่วยด้วย โรคงูสวัสดิ์แม้แต่ประเทศอื่นๆเช่นอังกฤษ,เยอรมัน,รัสเซีย,ญี่ปุ่น,จีน,ก็หันมาให้ความสนใจและทำการค้นคว้าโดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง เบาหวาน โรคเอดส์ และอีกมากมายประโยชน์ คือ

1. ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิด ถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอด ได้เป็นอย่างดี
2. ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ ทำให้สามารถลดการใช้ยาลงโดยความเห็นชอบและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ผู้รักษาด้วย
3. รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4. ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายถ้าแม้ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อHIV นอกจากนี้ยังช่วยให้คนทั่วๆไปสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง
5. ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้และสามารถมีชิวิตอยู่อย่างคนทั่วไปได้ในสังคมการรักษาโรคเอดส์ที่ประสพผลสำเร็จในกลุ่มประเทศอาฟริกา แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็กำลังอยู่ในภาวะทดลอง
6. ถ้ารับประทานสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็งแต่ถ้าหากเป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบันหากผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง
7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊า โรคกระดูกอักเสบ โรคมะเร็งในกระดูก โรครูมาติซั่ม
8. รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โรคตาต้อ เป็นต้นถ้ารับประทานสม่ำเสมอ จะทำให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์
9. รักษาโรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับท้อง โรคพยาธิในลำไส้ เป็นต้น
10. รักษาปอดให้แข็งแรง รักษาโรคทางเดินของลมหายใจ และโรคปอดอักเสบ
นอกจากนี้ต้นมะรุมยังมีคุณประโยชน์อีกมากใบสด ควรรับประทานใบสดที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปนัก เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่
เด็กแรกเกิด -1 ปี คั้นน้ำจากใบเพียง 1 หยด ผสมกับนมให้ดื่มเพียง 1 หยด ต่อ 1-2 วัน ใบมะรุมนี้มีธาตุเหล็กสูงมาก ฉะนั้นทารกในวัยเจริญเติบโต - 2 ขวบ จึงไม่ควรทานมาก
เด็กที่เริ่มทานอาหารได้ถึง 3-4 ขวบ ควรทานวันละไม่เกิน 2 ใบ เพิ่มจำนวนขึ้นทีละใบตามอายุ จนถึง 10 ขวบ
เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 1 กิ่ง จะทานสดหรือประกอบอาหารก็ได้ ถ้าจะให้ได้ผลรวดเร็ว ควรคั้นน้ำดื่มประมาณวันละ 1 ช้อนโต๊ะสำหรับผู้ใหญ่ หรือ 1 ช้อนชาสำหรับเด็ก
การรับประทานสุกควรลวกแต่พอควรเพราะการถูกความร้อนนานเกินไปจะทำให้สารอาหารหลายชนิดเสื่อมคุณภาพลงไปมาก ถ้าสามารถรับประทานสดได้จะดีมาก ใช้ทำสลัดรวมกับผักสด หรือวางบนแซนวิชผล รับประทานได้ทั้งฝักอ่อนและฝักแก่พอสมควรฝักแก่จะใช้ลำบากเพราะต้องปอกเปลือกเช่นใช้แกงส้มหรือขูดเอาแต่เนื้อใน มาทำแกงกะหรี่ ฝักอ่อนขนาดถั่วฝักยาวสามารถนำมาทำอาหารได้มากมายหลายชนิด อาทิ เช่น แกงส้มฝักมะรุม ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อน สลัดสดใบมะรุมผักรวม ทอดมันปลากับฝักมะรุมอ่อน แกงเลียงฝักมะรุมอ่อน ไข่ยัดไส้ใบมะรุมหมูสับ ดอกมะรุมชุบไข่ทอดผัดพริกขิงฝักมะรุมอ่อน ผัดจืดฝักมะรุมอ่อนใส่ไข่และกุ้ง ผัดเผ็ดฝักมะรุมอ่อนยอดพริกไทยกับไก่ฝักมะรุมอ่อนผัดขี้เมา ไก่อบฝักมะรุมอ่อน ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนจิ้มน้ำพริกต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดสดต่างๆ ราดหน้าฝักและใบมะรุมอ่อน แกงจืดใบมะรุมอ่อนเต้าหู้ ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดหูหนู แกงจืดวุ้นเส้นใบมะรุมอ่อน แกงเขียวหวานหรือแกงแดงฝักมะรุมอ่อน ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนชุบแป้งเทมปุระทอด
เมล็ดมะรุมนำมาน้ำมันเพื่อใช้ประโยชน์ได้มากมายเช่นใช้ทำอาหารรักษาโรคปวดตามข้อ โรคเก๊า รักษาโรครูมาติซั่ม และรักษาโรคผิวหนัง แก้ผิวแห้ง ใช้แทนยารักษาผิวให้ชุ่มชื้น รักษาโรคอันเกิดจากเชื้อราเปลือกจากลำต้น นำมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆใส่ผ้าห่อทำเป็นลูกประคบนึ่งให้ร้อนนำมาใช้ประคบ แก้โรคปวดหลัง ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี * ร้านขายยาจีนนำมาใช้เข้าเครื่องยาจีนรักษาโรคหลายประเภท*กากของเมล็ดกากที่เหลือจากการทำน้ำมันสามารถนำมาใช้ในการกรองหรือทำน้ำให้บริสุทธิ์เป็นน้ำดื่มได้กากของเมล็ดมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างยิ่ง จากนั้นนำมาทำปุ๋ยต่อได้ดอก ใช้ต้มทำน้ำชาใช้ดื่มช่วยให้นอนหลับสบาย ใบตากแห้ง โดยการตากในที่ร่มอย่าให้โดนแดดเมื่อแห้งสนิทดีแล้วนำมาป่นเป็นผงบรรจุในหลอดแคปซูลเพื่อสะดวกแก่การพกพาในกรณีที่เดินทางและหาใบสดไม่ได้ใช้ทำเป็นน้ำชาไว้ดื่มได้ตลอดวันควรเก็บผงมะรุมไว้ในที่มืดเช่น ขวดพลาสติกชนิดทึบเพื่อกันการเสื่อมคุณภาพ
น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมแห้ง
1. ใช้ปรุงอาหารชนิดเดียวกับน้ำมันมะกอก แต่ดีกว่าเพราะไม่มีกลิ่นหืนภายหลัง2. ช่วยบำรุงรักษาผิวที่แห้งให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม และช่วยชะลอความเหี่ยวย่นของผิว3. ช่วยรักษาโรคเชื้อราตามผิวหนัง เช่น โรคน้ำกัดเท้า เชื้อราตามซอกเล็บและผิวแห้งเพราะเชื้อรา4. ช่วยรักษาแผลถูกมีดบาด หรือแผลสดเล็ก ๆ น้อย ๆ5. ลดอาการผื่นคันตามผิวหนัง และอาการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กอ่อน6. ลดอาการปอดบวมของโรคไขข้ออักเสบ โรคเก๊าท์7. ช่วยรักษาแผลในปากหรือแผลของโรคปากนกกระจอก8. ใช้นวดกระชับกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี9. ช่วยบรรเทาอาการสิวบนใบหน้า10. ช่วยลบรอยจุดด่างดำของผิวอันเป็นผลจากการโดนแดด หรือการเสื่อมตามวัย11. ใช้นวดศีรษะ รักษาโรคเชื้อราบนหนังศีรษะ บรรเทาอาการผมร่วงง่าย และอาการคันศีรษะ12. ช่วยถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย อาการปวดหายไปทันที ส่วนอาการบวมลดลงอย่างรวดเร็ว13. บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามบั้นเอวและขา เนื่องจากการยืนนาน ๆ อาการปวดเมื่อยตามไหล่ และปวดศีรษะ14. ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นต่าง ๆ Moringa oleifera
From Wikipedia, the free encyclopedia
Moringa oleifera, commonly referred to simply as Moringa, is the most widely cultivated variety of the genus Moringa. It is of the family Moringaceae. It is an exceptionally nutritious vegetable tree with a variety of potential uses. The tree itself is rather slender with drooping branches that grows to approximately 10 m in height; however, it normally is cut back annually to one meter or less, and allowed to regrow, so that pods and leaves remain within arms reach.
The Moringa tree grows mainly in semi-arid tropical and subtropical areas. While it grows best in dry sandy soil, it tolerates poor soil, including coastal areas. It is a fast-growing, drought-resistant tree that is native to the southern foothills of the Himalayas, and possibly Africa and the Middle East[1]. Today it is widely cultivated in Africa, Central and South America, Sri Lanka, India, Mexico, Malaysia and the Philippines. Considered one of the world’s most useful trees, as almost every part of the Moringa tree can be used for food, or has some other beneficial property. In the tropics it is used as foliage for livestock. The tree has its origin from the South Indian State of Tamilnadu.
The immature green pods, called “drumsticks” are probably the most valued and widely used part of the tree. They are commonly consumed in India, and are generally prepared in a similar fashion to green beans and have a slight asparagus taste. The seeds are sometimes removed from more mature pods and eaten like peas or roasted like nuts. The flowers are edible when cooked, and are said to taste like mushrooms. The roots are shredded and used as a condiment in the same way as horseradish, however it contains the alkaloid spirochin, a potentially fatal nerve paralyzing agent, so such practices should be strongly discouraged.
The leaves are highly nutritious, being a significant source of beta-carotene, Vitamin C, protein, iron and potassium. The leaves are cooked and used like spinach. In addition to being used fresh as a substitute for spinach, its leaves are commonly dried and crushed into a powder, and used in soups and sauces. Murungakai Tamil as it is locally known in Tamil Nadu is used in Siddha medicine. Its leaves are full of medicinal properties. The tree is a good source for calcium and phosphorus. In Siddha medicine, the drumstick seeds are used as a sexual virility drug for treating erectile dysfunction in men and also in women for prolonging sexual activity.
The Moringa seeds yield 38–40% edible oil (called ben oil, from the high concentration of behenic acid contained in the oil) that can be used in cooking, cosmetics, and lubrication. The refined oil is clear, odorless, and resists rancidity at least as well as any other botanical oil. The seed cake remaining after oil extraction may be used as a fertilizer or as a flocculant to purify water.
The bark, sap, roots, leaves, seeds, oil and flowers are used in traditional medicine in several countries. In Jamaica, the sap is used for a blue dye.
The flowers are also cooked and relished as a delicacy in West Bengal and Bangladesh, especially during early spring. There it is called sojne ful and is usually cooked with green peas and potato.
people to grow it in their backyards.



มะรุมผงผสมน้ำผึ้ง แคปซูล
MORINGA HONEY PLUS capsules
THE MIRACLE NUTRITION SUPPLEMENT
HERB PRODUCE OF HILL TRIBE
THE NORTHERN OF THAILAND
สมุนไพรธรรมชาติ เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์
รับประทานวันละ 2-4 แคปซูล Dose:2-4 Caps daily
http://ban-maroom.blogspot.com/ 081-5238996


ชามะรุมผสมน้ำผึ้ง
MORINGA HONEY PLUS TEA
THE MIRACLE NUTRITION SUPPLEMENT
HERB PRODUCE OF HILL TRIBE
THE NORTHERN OF THAILAND
ชาสมุนไพรธรรมชาติ เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์
ชงดื่มเป็นประจำ
http://ban-maroom।blogspot.com/ 081-5238996

หมายเหตุ

สมุนไพรที่ปลูกบนขุนเขาสุง ดินอุดมสมบูรณ์ อากาศปลอดมลภาวะ ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม ไม่มีการใช้สารเคมี ทำให้พืชทุกชนิดงอกงาม และมีคุณค่าทางอาหารสูง ส่วนพืชสมุนไพรจะมีคุณค่าทางคุณสมบัติหรือทางสรรพคุณสูงกว่าพื้นที่อื่น โดยมั่นใจในคุณภาพ ปลอดภัยในการไช้ สนับสนุน ชาวบ้านบนพื้นที่สูง เสริมรายได้ ลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน ป้องกันร่างกายเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย